เมนู

อรรถกถาโสฬสปัญญานิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ฉนฺนํ อภิญฺญานํ
อภิญญา 6 คือ อิทธิวิธ (แสดงฤทธิได้) 1 ทิพยโสต (หูทิพย์) 1 เจโต-
ปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) 1 ปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติได้) 1 ทิพย-
จักขุ (ตาทิพย์) 1 อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น) 1. บทว่า เตสตฺตตีนํ
ญาณานํ
ญาณ 73 คือญาณทั่วไปแก่สาวกที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในญาณกถา.
ในบทว่า สุตฺตสตฺตตีนํ ญาณานํ ญาณ 77 มีพระบาลีว่า ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ 77 อย่าง แก่เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณวัตถุ 77 เป็น
ไฉน ? ญาณว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ
ชราและมรณะก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยแม้ในอดีตกาล ก็มีชราและ
มรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ ชราและมรณะก็ไม่มี ญาณว่า เพราะชาติเป็น
ปัจจัยแม้ในกาลอนาคตก็มีชราและมรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ ชราและมรณะ
ก็ไม่มี. ญาณว่า ธัมมัฏฐิติญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา มีความสำรอกกิเลสเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.
ญาณว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ. ฯลฯ ญาณว่า เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัยจึงมีภพ. ญาณว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน. ญาณว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา. ญาณว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมี
เวทนา. ญาณว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ. ญาณว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ. ญาณว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนาม
รูป. ญาณว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ. ญาณว่า เพราะอวิชชา

เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ญาณว่า เมื่อไม่มีอวิชชาสังขารก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัยแม้ในกาลเป็นอดีตก็มีสังขาร ญาณว่า เมื่อไม่มีอวิชชา สังขาร
ก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย แม้ในกาลอนาคตก็มีสังขาร ญาณว่า
เมื่อไม่มีอวิชชา สังขารก็ไม่มี. ญาณว่า ธัมมัฏฐิติญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสำรอกกิเลสเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวญาณวัตถุ 77 อย่างเหล่านี้. ญาณ 77
อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในนิทานวรรคด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง
ญาณวัตถุ 4 อย่าง ท่านกล่าวอย่างละ 4 ในองค์ 11 โดยนัยนี้ว่า ญาณใน
ชราและมรณะ ญาณในเหตุเกิดชราและมรณะ ญาณในความดับชราและมรณะ
ญาณในปฏิปทาให้ความดับชราและมรณะ ท่านมิได้ถือเอาในที่นี้. อนึ่ง ญาณ
ในทั้งสองแห่งนั้นเป็นวัตถุแห่งประโยชน์เกื้อกูลและความสุข จึงชื่อว่า ญาณวัตถุ.
การได้ในบทมีอาทิว่า ลาโภ ท่านกล่าวว่า ปฏิลาโภ การได้เฉพาะ
เพราะเพิ่มอุปสรรคทำให้วิเศษ. เพื่อขยายความแห่งบทนั้นอีก ท่านจึงกล่าวว่า
ปตฺติ สมฺปตฺติ การถึง การถึงพร้อม. บทว่า ผสฺสนา การถูกต้อง คือ การ
ถูกต้องด้วยการบรรลุ. บทว่า สจฺฉิกิริยา การทำให้แจ้ง คือ การทำให้แจ้งด้วย
การได้เฉพาะ. บทว่า อุปสมฺปทา การเข้าถึงพร้อม คือการให้สำเร็จ.
บทว่า สตฺตนฺนญฺจ เสกฺขานํ พระเสกขะ 7 จำพวก คือของพระเสกขะ
7 จำพวกมีท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ซึ่งรู้กันว่า เป็นพระเสกขะเพราะยัง
ต้องศึกษาสิกขา 3. บทว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณกสฺส ของกัลยาณปุถุชน คือ
ของปุถุชนที่รู้กันว่า เป็นคนดีโดยอรรถว่า เป็นผู้ดีเพราะประกอบปฏิปทาอัน
ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน. บทว่า วฑฺฒิตวฑฺฒนา คือเป็นเหตุเจริญด้วยปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งปัญญา 8 ตามที่กล่าวแล้ว
และด้วยอำนาจแห่งปัญญาของพระอรหันต์ ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง
ปัญญาก็เหมือนกัน.
ในบทมีอาทิว่า มหนฺเต อตฺเถ ปริคฺคณฺหาติ ย่อมกำหนดอรรถ
ใหญ่มีความดังต่อไปนี้. พระอริยสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทาย่อมกำหนดอรรถ
เป็นต้นด้วยทำให้เป็นอารมณ์. มหาปัญญาแม้ทั้งหมดก็เป็นของพระอริยสาวก
ทั้งหลายนั่นแหละ. อนึ่ง มหาปัญญาเป็นวิสัยแห่งปัญญานั้น มีความดังได้กล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
นานาศัพท์ในบทมีอาทิว่า ปุถุนานาขนฺเธสุ ในขันธ์ต่าง ๆ มาก
เป็นคำกล่าวถึงอรรถแห่งปุถุศัพท์. บทว่า ญาณํ ปวตฺตีติ ปุถุปญฺญา
ชื่อว่า ปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไป ความว่า ญาณนั้นชื่อว่า ปุถุปัญญา
เพราะญาณเป็นไปในขันธ์เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วนั่น. บทว่า นานาปฏิจฺจ-
สมุปฺปาเทสุ
ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ ท่านกล่าวเพราะเป็นปัจจัยมากด้วย
อำนาจแห่งธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น. บทว่า นานาสุญฺญตมนุลพฺเภสุ ในความ
ได้เนือง ๆ ซึ่งความสูญต่าง ๆ คือ การเข้าไปได้ชื่อว่า อุปลัพภะ อธิบายว่า
การถือเอา การไม่เข้าไปได้ชื่อว่า อนุปลัพภะ เพราะการไม่เข้าไปได้ คำมาก
ชื่อว่า อนุปลัพภา เป็นพหุวจนะ. อีกอย่างหนึ่ง การไม่เข้าไปได้ซึ่งตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตนในความสูญต่าง ๆ ด้วยสุญญตา 25 ชื่อว่า นานา-
สุญญตานุปลัพภา
. ในนานาสุญญตานุปลัพภานั้น. เมื่อควรจะกล่าวว่า
นานาสุญฺญตมนุปลพฺเภสุ ท่านกล่าว อักษรด้วยบทสนธิดุจในบทว่า
อทุกฺขมสุขา ไม่ทุกข์ไม่สุข. ปัญญา 5 อย่างเหล่านี้ทั่วไป ด้วยกัลยาณปุถุชน

ปัญญาในบทมีอาทิว่า นานาอตฺถา มีอรรถต่าง ๆ ของพระอริยเจ้าเท่านั้น.
บทว่า ปุถุชฺชนสาธารเณ ธมฺเม ในธรรมทั่วไปแก่ปุถุชน คือโลกิยธรรม.
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปุถุชนปัญญา เพราะปัญญาหนา ปัญญาแผนกหนึ่ง
เพราะมีนิพพานอันเป็นของใหญ่เป็นอารมณ์จากโลกิยะโดยปริยายในที่สุดนี้.
บทว่า วิปุลปญฺญา พึงทราบความนัยแห่งมหาปัญญา. เมื่อกำหนดธรรม
ตามที่กล่าวแล้ว พึงทราบความไพบูลย์ของปัญญากำหนดธรรมเหล่านั้นเพราะ
มีคุณใหญ่และปัญญากำหนดธรรมเหล่านั้นเพราะความใหญ่ และกำหนดธรรม
เพราะความใหญ่ เพราะความยิ่งใหญ่ด้วยตนเองเท่านั้น. คัมภีร์ปัญญาพึงทราบ
โดยนัยแห่งปุถุปัญญา. ธรรมเหล่านั้น อันไม่พึงได้ และปัญญานั้น ชื่อว่า
คัมภีรา เพราะปกติชนไม่พึงได้.
บทว่า ยสฺส ปุคฺคลสฺส คือ แห่งพระอริยบุคคลนั่นแหละ. บทว่า
อญฺโญ โกจิ ใครอื่น คือ ปุถุชน. บทว่า อภิสมฺภวิตุํ เพื่อครอบงำได้
คือ เพื่อถึงพร้อมได้. บทว่า อนภิสมฺภวนีโย อันใครๆ ครอบงำไม่ได้
คือ อันใคร ๆ ไม่สามารถบรรลุได้. บทว่า อญฺเญหิ คือ ปุถุชนนั่นแหละ.
บทว่า อฏฺฐมกสฺส ของบุคคลที่ 8 คือของท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาบัติมรรค
เป็นบุคคลที่ 8 นับตั้งแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล. บทว่า ทูเร คือในที่ไกล.
บทว่า วิทูเร คือไกลเป็นพิเศษ. บทว่า สุวิทูเร คือไกลแสนไกล. บทว่า
น สนฺติเก คือไม่ใกล้. บทว่า น สามนฺตา คือในส่วนไม่ใกล้. คำประกอบ
คำปฏิเสธทั้งสองนี้ กำหนดถึงความไกลนั่นเอง. บทว่า อุปาทาย คืออาศัย
บทว่า โสตาปนฺนสฺส คือท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวว่า
มรรคปัญญานั้น ๆ ห่างไกลจากผลปัญญานั้น ๆ. บทว่า ปจฺเจกฺสมฺพุทฺโธ
แปลกกันด้วยอุปสรรค. ทั้งสองบทนี้ บริสุทธิ์เหมือนกัน.

พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวคำมีอาทิว่า ปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า
และชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกห่างไกลจากปัญญาของพระตถาคต แล้วประสงค์จะ
แสดงปัญญาอันตั้งอยู่ไกลนั้นโดยประการไม่น้อย จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ปญฺญา-
ปเภทกุสโล
พระตถาคตทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญาดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาปเภทกุสโล คือทรงฉลาดในประเภท
แห่งปัญญาอันมีกำหนดมากมายของพระองค์. บทว่า ปภินฺนญาโณ ทรงมี
ญาณแตกฉาน คือ มีพระญาณถึงประเภทหาที่สุดมิได้. ด้วยบทนี้ แม้เมื่อมี
ความฉลาดในประเภทแห่งปัญญา พระสารีบุตรเถระก็แสดงความที่ปัญญา
เหล่านั้นมีประเภทหาที่สุดมิได้. บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิโท ทรงบรรลุ
ปฏิสัมภิทา คือ ทรงได้ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อันเลิศ. บทว่า จตุเวสารชฺชปฺ-
ปตฺโต
. ทรงถึงเวสารัชชญาณ 4 คือทรงถึงญาณ กล่าวคือความกล้าหาญ 4.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่พิจารณานิมิตนั้นว่า เมื่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้ารู้ธรรมเหล่านั้น สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
ใคร ๆ ในโลกนี้จักท้วงเราในข้อนั้นพร้อมกับธรรมว่า ธรรมเหล่านี้พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ยังมิได้ตรัสรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรามิได้พิจารณาถึง
นิมิตนั้นเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความกล้าหาญอยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรายังไม่พิจารณาเห็นนิมิตนั้นว่า เมื่อพระขีณาสพรู้ธรรมเหล่านั้น
สมณะ พราหมณ์ ฯลฯ หรือใคร ๆ ในโลก จักท้วงเราในข้อนั้นพร้อมกับ
ธรรมว่า อาสวะเหล่านี้ยังไม่สิ้นไป เมื่อพระขีณาสพเสพอันตรายิกธรรม
ที่กล่าวก็ไม่ควรเพื่อเป็นอันตรายได้ อนึ่ง ธรรมที่ท่านแสดงแล้วเพื่อประโยชน์

แก่บุคคลใด ธรรมนั้นย่อมไม่นำออก เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้
กระทำนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เห็นนิมิตนั้น ฯลฯ อยู่.
บทว่า ทสพลธารี ทรงพละ 10 ชื่อว่า ทสพลา เพราะมีพละ 10.
พละของท่านผู้มีพละ 10 ชื่อว่า ทสพลพลานิ ชื่อว่า ทสพลพลธารี
เพราะทรงพละของผู้มีพละ 10 อธิบายว่าทรงกำลังทศพลญาณ. ด้วยคำทั้ง 3
เหล่านี้ ท่านแสดงเพียงหัวข้อประเภทของเวไนยสัตว์อันมีประเภทมากมาย.
พระตถาคตทรงเป็นบุรุษองอาจด้วยได้สมมติ เป็นมงคลยิ่ง โดยประกอบด้วย
ปัญญา ทรงเป็นบุรุษสีหะด้วยอรรถว่าความไม่หวาดสะดุ้ง ทรงเป็นบุรุษนาค
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ทรงเป็นบุรุษอาชาไนยด้วยอรรถว่าเป็นผู้รู้ทั่ว ทรงเป็น
บุรุษนำธุระไปด้วยอรรถว่านำกิจธุระของโลกไป.
ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงคุณวิเศษที่ได้จากอนันต-
ญาณมีเดชเป็นต้น เพื่อจะแสดงความที่เดชเป็นต้นเหล่านั้นเป็นรากของอนันต-
ญาณจึงกล่าว อนนฺตญาโณ ทรงมีพระญาณหาที่สุดมิได้ แล้วกล่าวบทมีอาทิว่า
อนนฺตเตโช ทรงมีเดชหาที่สุดมิได้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตญาโน คือทรงมีญาณปราศจากที่สุด
ด้วยการคำนวณและด้วยความเป็นผู้มีอำนาจ. บทว่า อนนฺตเตโช คือทรงมีเดช
ถือพระญาณหาที่สุดมิได้ ด้วยการกำจัด มืด คือ โมหะในสันดานของเวไนยสัตว์.
บทว่า อนนฺตยโส ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ คือ ทรงมีการประกาศเกียรติคุณ
หาที่สุดมิได้ แผ่ไป 3 โลกด้วยพระปัญญาคุณ. บทว่า อฑฺโฆ ทรงเป็น
ผู้มั่งคั่ง คือ ทรงเพียบพร้อมด้วยทรัพย์ คือ ปัญญา. บทว่า มหทฺธโน
ทรงมีทรัพย์มาก ชื่อว่า มหทฺธโน เพราะมีทรัพย์ คือ ปัญญามากโดยความ
เป็นผู้มากด้วยอำนาจ แม้ในเพราะความเป็นผู้เจริญด้วยทรัพย์ คือ ปัญญา.

บทว่า ธนวา ทรงมีอริยทรัพย์ ชื่อว่า ธนวา เพราะมีทรัพย์ คือ ปัญญา
อันควรสรรเสริญ เพราะมีทรัพย์ คือ ปัญญาอันประกอบอยู่เป็นนิจ เพราะมี
ทรัพย์ คือ ปัญญาอันเป็นความยอดเยี่ยม. ในอรรถทั้ง 3 เหล่านี้ ผู้รู้ศัพท์
ทั้งหลายย่อมปรารถนาคำนี้.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงความสำเร็จในอัตสมบัติของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยพระปัญญาคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความสำเร็จสมบัติอันเป็น
ประโยชน์แก่โลกด้วยพระปัญญาคุณอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เนตา ทรงเป็น
ผู้นำ.
พึงทราบควานในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้. ทรงเป็นผู้นำเวไนยสัตว์
ทั้งหลายไปสู่ฐานะอันเกษม คือ นิพพานจากฐานะอันน่ากลัว คือ สงสาร
ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษซึ่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายด้วยสังวรวินัย และปหานวินัย
ในเวลาทรงแนะนำ ทรงนำไปเนืองๆ ด้วยการตัดความสงสัยในขณะทรงแสดง
ธรรม ทรงตัดความสงสัยแล้วทรงบัญญัติอรรถที่ควรให้รู้ ทรงพินิจด้วย
ทำการตัดสินข้อที่บัญญัติไว้อย่างนั้น ทรงเพ่งอรรถที่ทรงพินิจแล้วอย่างนั้น
ด้วยการประกอบในการปฏิบัติ ทรงให้หมู่สัตว์ผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนั้นเลื่อมใส
ด้วยผลของการปฏิบัติ. หิ อักษรในบทนี้ว่า โส หิ ภควา เป็นนิบาตลงใน
การแสดงอ้างถึงเหตุแห่งอรรถที่กล่าวไว้แล้วในลำดับ. บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส
มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา
ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น คือ ยังอริยมรรค
อันเป็นเหตุแห่งอสาธารณญาณ 6 ซึ่งยังไม่เคยเกิดในสันดานของตน ให้เกิดขึ้น
ในสันดานของตน เพื่อประโยชน์แก่โลก ณ โคนต้นโพธิ์. บทว่า อสญฺชาตสฺส
มคฺคสฺส สญฺชาเนตา
ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม คือ ยัง
อริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งสาวกปารมิญาณที่ยังไม่เคยเกิดพร้อมในสันดานของ

เวไนยสัตว์ให้เกิดพร้อมในสันดานของเวไนยสัตว์ ตั้งแต่ทรงประกาศพระธรรม
จักรจนตราบเท่าถึงทุกวันนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สัญชาเนตา
เพราะทรงยังอริยมรรคให้เกิดพร้อมในสันดานของเวไนยผู้เป็นสาวกด้วยพระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั่นแหละ. บทว่า อนกฺขาตสฺส มคฺคสฺส
อกฺขาตา
ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก คือ ทรงให้คำพยากรณ์เพื่อความ
เป็นพระพุทธเจ้าของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้สะสมบุญกุศลไว้เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยธรรม 8 ประการแล้วทรงบอกมรรค คือ ความเป็น
บารมีที่ยังไม่เคยบอก หรืออริยมรรคที่ควรให้เกิดขึ้น ณ โคนต้นโพธิโดยเพียง
พยากรณ์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. นัยนี้ย่อมได้แม้ในการพยากรณ์พระปัจเจก-
โพธิสัตว์เหมือนกัน.
บทว่า มคฺคญฺญู ทรงรู้จักมรรค คือ ทรงรู้อริยมรรคอันตนให้
เกิดขึ้นด้วยการพิจารณา. บทว่า มคฺควิทู ทรงทราบมรรค คือ ทรงฉลาด
อริยมรรคอันพึงให้เกิดขึ้นในสันดานของเวไนยสัตว์. บทว่า มคฺคโกวิโท
ทรงฉลาดในมรรค คือ ทรงเห็นแจ้งมรรคที่ควรบอกแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้มรรคอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่ออภิสัมโพธิ ทรงทราบมรรคอัน
เป็นข้อปฏิบัติเพื่อปัจเจกโพธิ ทรงฉลาดในมรรคอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อสาวกโพธิ.
อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์ทั้งหลายย่อมทำการประกอบอรรถตามลำดับ
ด้วยอำนาจแห่งมรรคของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกในอดีต
อนาคตและปัจจุบันด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตมรรคอันมีสุญญตะเป็นนิมิต และ
ด้วยอำนาจเเห่งมรรคของอุคฆฏิตัญญูบุคคล วิปจิตัญญูบุคคล และไนยบุคคล
ตามควร เพราะบาลีว่า ด้วยมรรคนี้ สาวกทั้งหลาย ข้ามแล้วในก่อน จักข้าม
ย่อมข้ามซึ่งโอฆะดังนี้.

บทว่า มคฺคานุคามี จ ปน ก็และพระสาวกเป็นผู้ดำเนินไปตาม
มรรค คือ เป็นผู้ดำเนินไปตามมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินไปแล้ว.
จ ศัพท์ในบทนี้เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งเหตุ. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงเหตุแห่งการบรรลุคุณมียังมรรคให้เกิดเป็นต้น. ปน ศัพท์เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่าทำแล้ว. ด้วยบทนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุแห่งมรรคที่
ทำแล้ว. บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา พระสาวกที่จะมาภายหลัง คือ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วก่อน พระสาวกประกอบด้วยคุณมีศีลอันมาภาย-
หลังเป็นต้น. ด้วยเหตุดังนี้ เพราะคุณมีศีลเป็นต้น แม้ทั้งหมดของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าอาศัยอรหัตมรรคนั่นแหละมาแล้วด้วยบทมีอาทิว่า ด้วยยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้นดังนี้ ฉะนั้น พระเถระกล่าวถึงคุณเพราะอาศัยอรหัตมรรค
นั่นแหละ. บทว่า ชานํ ชานาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบ ก็ย่อม
ทรงทราบ คือ ย่อมทรงทราบสิ่งที่ควรทรงทราบ อธิบายว่า ธรรมดาสิ่งที่
ควรทราบด้วยปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อพระสัพพัญญุตญาณยังมีอยู่ ย่อม
ทรงทราบสิ่งที่ควรทราบทั้งหมดนั้นอันเป็นทางแห่งข้อควรแนะนำ 5 ประการ
ด้วยปัญญา. บทว่า ปสฺสํ ปสฺสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็นก็ย่อม
ทรงเห็น คือ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น อธิบายว่า ทรงกระทำทางอันควรแนะนำ
นั้นแหละ ดุจเห็นด้วยจักษุเพราะเห็นทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมเห็นด้วยปัญญาจักษุ
หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เป็นเหมือนคนบางพวกแม้ถือเอาสิ่งวิปริต รู้อยู่
ก็ย่อมไม่รู้ แม้เห็นก็ย่อมไม่เห็น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือตามสภาพที่
เป็นจริง ทรงทราบก็ย่อมทรงทราบ ทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่าทรงมีจักษุ เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้นําในการเห็น
ชื่อว่าทรงมีญาณเพราะอรรถว่ามีความเป็นผู้ทรงรู้แจ้งเป็นต้น ชื่อว่าทรงมีธรรม

เพราะอรรถว่ามีสภาพไม่วิปริต หรือสำเร็จด้วยธรรมที่พระองค์ทรงคิดด้วย
พระทัย แล้วทรงเปล่งด้วยพระวาจา เพราะทรงชำนาญทางปริยัติธรรม ชื่อว่า
ทรงมีพรหม เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ทรงมีจักษุเพราะทรงเป็นดุจจักษุ ชื่อว่าทรงมีญาณ เพราะทรงเป็นดุจญาณ
ชื่อว่า ทรงมีธรรม เพราะทรงเป็นดุจธรรม ชื่อว่า ทรงมีพรหม เพราะ
ทรงเป็นดุจพรหม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอก เพราะตรัสบอกพระธรรม
หรือเพราะยังพระธรรมให้เป็นไป ตรัสบอกทั่ว เพราะตรัสบอกโดยประการ
ต่าง ๆ หรือให้เป็นไปโดยประการต่าง ๆ ทรงนำอรรถออก เพราะทรงนำ
อรรถออกแล้วจึงทรงแนะนำ ทรงประทานอมตธรรม เพราะทรงแสดงข้อ
ปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม หรือเพราะทรงให้บรรลุอมตธรรมด้วยการแสดง
ธรรมประกาศอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เพราะทรงให้เกิดโลกุตรธรรม
ด้วยการประทานโลกุตรธรรมตามความสุขโดยสมควรแก่เวไนยสัตว์ และทรง
เป็นอิสระในธรรมทั้งหลาย. บทว่า ตถาคต มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงคุณดังที่กล่าวแล้วด้วยบทมี
อาทิว่า ชานํ ชานาติ เมื่อทรงทราบก็ย่อมทรงถวายให้วิเศษยิ่งขึ้นเพราะ
พระสัพพัญญุตญาณ เมื่อจะยังพระสัพพัญญุตญาณให้สำเร็จจึงกล่าวบทมี
อาทิว่า นตฺถิ มิได้มีดังนี้ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาญเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรง
เป็นอย่างนั้น มิได้ทำให้แจ้งมิได้มี เพราะกำจัดความหลงพร้อมด้วยวาสนาใน
ธรรมทั้งปวงด้วยอรหัตมรรคญาณอันสำเร็จด้วยอำนาจกำลังบุญที่ทรงบําพ็ญมา
แล้ว ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะทรงทราบ
ธรรมที่ปวงโดยความไม่หลง ซึ่งว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง

เห็นมิได้มี เพราะธรรมทั้งปวงพระองค์ทรงเห็นด้วยญาณจักษุ ดุจด้วยจักษุ อนึ่ง
ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะพระองค์ทรงบรรลุ
แล้วด้วยญาณ ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำให้แจ้งมิได้มี เพราะ
พระองค์ทรงทำให้แจ้ง ด้วยการทำให้แจ้ง ด้วยการไม่หลง ชื่อว่าบทธรรมที่
พระองค์ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญามิได้มี เพราะพระองค์ทรงถูกต้องด้วยปัญญา
อันไม่หลง. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนํ ได้แก่กาลหรือธรรมเป็นปัจจุบัน. บทว่า อุปา-
ทายคือถือเองแล้ว ความว่าทำไว้ในภายใน แม้นิพพานพ้นกาลไปแล้ว ท่านก็ถือ
เอาด้วยคำว่า อุปาทาย นั่นแหละ อนึ่ง คำมี อตีต ล่วงไปแล้วเป็นต้นย่อม
สืบเนื่องกับคำมีอาทิ นตฺถิ หรือกับคำมีอาทิว่า สพฺเพ. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงรวมสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหมด. บทว่า สพฺพา-
กาเรน
โดยอาการทั้งปวงคือรวมอาการทั้งปวงมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นแห่ง
ธรรมอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาธรรมทั้งหมด. บทว่า ญาณมุเข ในมุขคือพระญาณ
ได้แก่ในเฉพาะหน้าคือพระญาณ. บทว่า อาปาถํ อาคจฺฉติ ย่อมมาสู่คลองคือ
ย่อมถึงการรวมกัน. บทว่า ชานิตพฺพํ ควรรู้ท่านกล่าวเพื่อขยายความแห่งบท
ว่า เนยฺยํ ควรแนะนำ วา ศัพท์ในบทมีอาทิว่า อตฺตตฺโถ วา และประโยชน์
ตนเป็นสมุจจยรรถ (ความรวมกัน). บทว่า อตฺตตฺโถ คือประโยชน์ของตน.
บทว่า ปรตฺโถ ประโยชน์ของผู้อื่นคือประโยชน์ของโลก 3 อื่น. บทว่า
อุภยตฺโถ ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ได้แก่ประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายคราวเดียวกัน
คือของตนและของคนอื่น. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิโก ประโยชน์ภพนี้ คือประโยชน์
ประกอบในภพนี้ หรือประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ประกอบแล้วในภพหน้า
หรือประโยชน์ในสัมปรายภพชื่อว่า สมฺปรายิโก.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อุตฺตาโน ดังต่อไปนี้ ประโยชน์ที่พูด
ใช้โวหารชื่อว่า อุตฺตาโน ประโยชน์ตื้น เพราะเข้าใจง่าย ประโยชน์ที่พูดเกิน

โวหารปฏิสังยุตด้วยสุญญตาชื่อว่า คมฺภีโร ประโยชน์ลึก เพราะเข้าใจยาก
ประโยชน์อันเป็นโลกุตระชื่อว่า คุฬฺโห ประโยชน์ลับเพราะพูดภายนอก
เกินไป ประโยชน์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฺฉนฺโน ประโยชน์ปกปิด
เพราะปกปิดด้วยฆนะ. (ก้อน) เป็นต้น ประโยชน์ที่พูดโดยไม่ใช้โวหารมาก
ชื่อว่า เนยฺโย ประโยชน์ที่ควรนำไป เพราะไม่ถือเอาตามความพอใจ ควรนำ
ไปตามความประสงค์ ประโยชน์ที่พูดด้วยใช้โวหารชื่อว่า นีโต ประโยชน์ที่
นำไปแล้ว เพราะนำความประสงค์ไปโดยเพียงคำพูดประโยชน์คือศีล สมาธิและ
วิปัสสนาอันบริสุทธิ์ด้วยดีชื่อว่า อนวชฺโช ประโยชน์ไม่มีโทษ เพราะปราศ-
จากโทษด้วยตทังคะและวิกขัมภนะ ประโยชน์คืออริยมรรคชื่อว่า นิกฺกิเลโส
ประโยชน์ไม่มีกิเลส เพราะตัดกิเลสขาด ประโยชน์คืออริยผลชื่อว่า โวทาโน
ประโยชน์ผ่องแผ้ว เพราะกิเลสสงบ นิพพานชื่อว่า ปรมตฺโถ ประโยชน์
อย่างยิ่ง เพราะนิพพานเป็นธรรมเลิศในสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ปริวตฺตติ ย่อมเป็นไป คือแทรกซึมคลุกเคล้าโดยรอบย่อม
เป็นไปโดยวิเศษในภายในพุทธญาณ เพราะไม่เป็นภายนอกจากความเป็นวิสัย
แห่งพุทธญาณ พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สำเร็จพระญาณด้วยบทมีอาทิ สพฺพํ กายกมฺมํ ตลอดกายกรรมทั้งปวง. บทว่า
ญาณานุปริวตฺตติ พระญาณย่อมเป็นไปตลอด ความว่าไม่ปราศจากพระญาณ.
บทว่า อปฺปฏิหิตํ มิได้ขัดข้อง ท่านแสดงถึงความที่ไม่มีอะไรกั้นไว้ พระ
สารีบุตรเถระประสงค์จะยังพระสัพพัญญุตญาณให้สำเร็จด้วยอุปมาจึงกล่าวบทมี
อาทิว่า ยาวตกํ เนยยบทมีเท่าใด. ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า เนยฺยํ เพราะ
ควรรู้ ชื่อว่า เนยฺยปริยนฺติกํ เพราะพระญาณมีเนยยบทเป็นที่สุด อนึ่งผู้
ไม่เป็นสัพพัญญูไม่มีเนยยบทเป็นที่สุด แม้ในเนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดก็มี

ดังนี้เหมือนกัน พระสารีบุตรเถระแสดงความที่ได้กล่าวไว้แล้วในคู่ต้นให้พิเศษ
ไปด้วยคู่นี้ แสดงกำหนดด้วยการปฏิเสธด้วยคู่ที่ 3 อนึ่ง เนยยะในบทนี้ชื่อว่า
เนยยปถ เพราะเป็นคลองแห่งญาณ. บทว่า อญฺญมญฺญํ ปริยนฺตฏฺฐายิโน
ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน คือมีปกติยังเนยยะและญาณ
ให้สิ้นไปแล้วตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกันจากฐานะ. บทว่า อาวชฺชน-
ปฏิพทฺธา
เนื่องด้วยความทรงคํานึง คือเนื่องด้วยมโนทวาราวัชชนะความว่า
ย่อมรู้ลำดับแห่งความคำนึงนั่นเอง. บทว่า อากงฺขปฏิพทฺธา เนื่องด้วยทรง
พระประสงค์ คือเนื่องด้วยความพอใจ ความว่าย่อมรู้ลำดับแห่งอาวัชชนจิตด้วย
ชวนญาณ ท่านกล่าวบททั้ง 2 นอกนี้เพื่อประกาศความตามลำดับบททั้ง 2 นี้.
บทว่า พุทฺโธ อาสยํ ชานาติ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย
เป็นต้น ท่านพรรณนาไว้ในญาณกถาแล้ว แต่มาในมหานิเทศว่าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ย่อมทรงทราบอัธยาศัย. ในบทนั้นมาในอาคตสถานว่า พุทฺธสฺส ภคว-
โต
ในที่นี้ในที่บางเเห่งว่า พุทฺธสฺส. บทว่า อนฺตมโส คือโดยที่สุด.
ในบทว่า ติมิติมิงฺคลํ นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ ปลาชนิดหนึ่งชื่อว่า
ติมิ ปลาชนิดหนึ่งชื่อว่าติมิงคิละเพราะตัวใหญ่กว่าปลาติมินั้น สามารถกลืนกิน
ปลาติมิได้ ปลาชนิดหนึ่งชื่อติมิติมิคละมีลำตัวประมาณ 500 โยชน์ สามารถ
กลืนกินปลาติมิคละได้. ในบทนี้พึงทราบว่าเป็นเอกวจนะด้วยถือเอากำเนิด.
ในบทว่า ครุฬํ เวนเตยิยํ ครุฑตระกูลเวนเทยยะนี้พึงทราบว่าชื่อว่า
ครุฬ เป็นซึ่งโดยกำเนิด ชื่อว่า เวนเตยฺย เป็นชื่อโดยโคตร. บทว่า ปเทเส
คือในเอกเทศ. บทว่า สารีปุตฺตสมา มีปัญญาเสมอด้วยพระสารีบุตรพึง
ทราบว่าท่านกล่าวหมายถึงพระเถระผู้เป็นพระธรรมเสนาบดีของพระพุทธเจ้าทั้ง
ปวง เพราะพระสาวกที่เหลือไม่มีผู้เสมอด้วยพระธรรมเสนาบดีเถระทางปัญญา

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายสาวกของเราผู้มีปัญญามาก อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
สัตว์ทั้งหลายอื่นใดมีอยู่เว้นพระโลกนาถ สัตว์
เหล่านั้นย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งปัญญา ของพระ-
สารีบุตร.

บทว่า ผริตฺวา แผ่ไป คือพุทธญาณบรรลุถึงปัญญาแม้ของเทวดา
และมนุษย์ทั้งปวงแล้วเเผ่ไปแทรกซึมเข้าไปสู่ปัญญาของเทวดา และมนุษย์เหล่า
นั้นโดยฐานะแล้วตั้งอยู่. บทว่า อติฆํสิตฺวา ขจัดแล้วคือพุทธญาณก้าวล่วง
ปัญญาแม้ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงแผ่ไปกำจัดทำลายเนยยะทั้งปวงแม้ไม่ใช่
วิสัยของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นแล้วตั้งอยู่ ปาฐะในมหานิเทศว่า อภิภวิตฺวา
ครอบงำแล้วคือย่ำยีแล้ว ด้วยบทว่า เยปิเต เป็นต้น. พระสารีบุตรเถระแผ่
ไปขจัดด้วยประการนี้แล้ว แสดงเหตุให้ประจักษ์แห่งฐานะ. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ปณฺฑิตา คือประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า นิปุณา ละเอียด
คือมีปัญญาละเอียดสุขุมสามารถแทงตลอดปัญญาสุขุมในระหว่างอรรถได้. บทว่า
กตปรปฺปวาทา แต่งวาทะโต้ตอบ คือรู้วาทะโต้ตอบและแต่งวาทะต่อสู้กับชน
เหล่าอื่น. บทว่า วาลเวธิรูปา คือ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถ
ยิงขนทราย. บทว่า เต ภินฺทนฺตา ปญฺญา จรนฺติ ปญฺญาคเตน ทิฏฺฐิค-
ตานิ
เที่ยวทำลายปัญญาและทิฏฐิด้วยปัญญา ความว่าเที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิ
ของคนอื่นแม้สุขุมด้วยปัญญาของตนดุจนายขมังธนูยิงขนทรายฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานั่นแหละคือ ปัญญาคตะ ทิฏฐินั้นแหละคือทิฏฐิ
คตะ ดุจในคำว่า คูถคตํ มุตฺตคตํ คูถ มูตร เป็นต้น. บทว่า ปญฺหํ อภิสงฺขริตฺ-
วา
แต่งปัญหา คือแต่งคำถาม 2 บทบ้าง 3 บทบ้าง 4 บทบ้าง ท่านกล่าว 2 ครั้ง

เพื่อสงเคราะห์เข้าด้วยกันเพราะทำปัญญาเท่านั้นให้มากยิ่งขึ้น. บทว่าคุฬฺหานิ จ
ปฏิจฺฉนฺนานิ จ
ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย มีปาฐะที่เหลือว่า อตฺถชาตานิ
เกิดประโยชน์ บัณฑิตทั้งหลายถามปัญหาเพราะบัณฑิตเหล่านั้นเห็นข้อแนะนำ
อย่างนั้นแล้วอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อย่างนี้ว่า ขอจงถามปัญหา
ที่ตนแต่งมา อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงประทานโอกาสเพื่อให้ผู้อื่นถาม
ทรงแสดงธรรมแก่ผู้เข้าไปเฝ้าเท่านั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
บัณฑิตเหล่านั้นพากันแต่งปัญหา ด้วยหมายใจว่า จักเข้าไปหาพระ-
สมณโคดมแล้วทูลถามปัญหานี้ หากว่าพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้ว
อย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ พวกเราจักยกวาทะนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า
พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ พวกเรา
จักยกวาทะนั้นแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้. บัณฑิตเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้า
พระสมณโคดมถึงที่ประทับ. พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจง ให้สมาทาน ให้อาจ-
หาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. บัณฑิตเหล่านั้นถูกพระสมณโคดมทรงชี้แจง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณ
โคดมเลย บัณฑิตเหล่านั้นจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมกลาย
เป็นสาวกของพระสมณโคดมไปโดยแท้.
หากถามว่า เพราะเหตุไร บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ทูลถามปัญหา. ตอบว่า
นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ทรงตรวจดู
อัธยาศัยของบริษัท แต่นั้นทรงเห็นว่า บัณฑิตเหล่านี้พากันมาทำปัญหา
ซ่อนเร้น ลี้ลับ ให้มีสาระเงื่อนงำ ครั้นบัณฑิตเหล่านั้นไม่ทูลถามพระองค์เลย
พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า โทษประมาณเท่านี้ในการถามปัญหา ประมาณ
เท่านี้ในการแก้ปัญหา ประมาณเท่านี้ในอรรถ ในบท ในอักขระ ดังนี้ เมื่อ

จะถามปัญหาเหล่านั้น พึงถามอย่างนี้ เมื่อจะแก้ปัญหาควรแก้อย่างนี้ ดังนั้น
พระองค์จึงทรงใส่ปัญหาที่บัณฑิตเหล่านั้นนำมาทำให้มีสาระซับซ้อน ไว้ใน
ระหว่างธรรมกถาแล้วจึงทรงแสดง. บัณฑิตเหล่านั้นย่อมพอใจว่า เราไม่ถาม
ปัญหาเหล่านั้น เป็นความประเสริฐของเรา หากว่าเราพึงถามพระสมณโคดม
จะพึงทรงทำให้เราตั้งตัวไม่ติดได้เลย. อีกประการหนึ่ง ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงแผ่เมตตาไปยังบริษัท ด้วยการเเผ่เมตตา
มหาชน ย่อมมีจิตเลื่อมใสในพระทศพล ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมี
รูปโฉมงดงาม น่าทัศนา มีพระสุรเสียงไพเราะ มีพระชิวหาอ่อนนุ่ม มีช่อง
พระทนต์สนิท ทรงกล่าวธรรมดุจรดหทัยด้วยน้ำอมฤต ในการทรงกล่าวธรรม
นั้น ผู้มีจิตเลื่อมใสด้วยการทรงแผ่เมตตา ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่
สามารถจะจับสิ่งตรงกันข้ามกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงกล่าวกถาไม่มีสอง
กถาไม่เป็นโมฆะ กถานำสัตว์ออกไป เห็นปานนี้ได้เลย บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ถามปัญหา เพราะความที่ตนเลื่อมใสนั่นแหละ.
บทว่า กถิตา วิสชฺชตา จ ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าวและทรงแก้แล้ว ความว่า ปัญหาเหล่านั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าว ด้วยการตรัสถึงปัญหาที่บัณฑิตทั้งหลายถามว่า พวกท่านจงถาม
อย่างนี้ เป็นอันทรงแก้โดยประการที่ควรแก้นั่นเอง. บทว่า นิทฺทิฏฺฐิการณา
มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ความว่า ปัญหาเหล่านั้นมีเหตุที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงไขให้เห็นชัด ด้วยการแก้ทำให้มีเหตุอย่างนี้ว่า การแก้ย่อมมี
ด้วยเหตุการณ์อย่างนี้. บทว่า อุปกฺขิตฺตา จ เต ภควโต สมฺปชฺชนฺติ
บัณฑิตเหล่านั้นเข้าไปหมอบเฝ้า ย่อมปรากฏแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า
บัณฑิตเหล่านั้นมีกษัตริย์บัณฑิตเป็นต้น เข้าเฝ้าแทบพระบาท ย่อมปรากฏแก่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการแก้ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งสาวก ทั้ง
อุบาสกย่อมปรากฏ อธิบายว่า บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงสาวกสมบัติ หรือ
อุบาสกสมบัติ. บทว่า อถ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าลำดับ อธิบายว่า ในลำดับ
พร้อมด้วยสมบัติที่บัณฑิตเหล่านั้นเข้าไปเฝ้า. บทว่า ตตฺถ คือ ในที่นั้น
หรือในอธิการนั้น. บทว่า อภิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง คือโชติช่วง สว่างไสว
อย่างยิ่ง. บทว่า ยทิทํ ปญฺญาย คือ ด้วยปัญญา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงรุ่งเรือง ด้วยปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อิติศัพท์ ลงในอรรถ
แห่งเหตุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ด้วยเหตุนี้.
บทว่า ราคํ อภิภุยฺยตีติ ภูริปญฺญา ชื่อว่า ภูริปญฺญา มีปัญญา
ดังแผ่นดิน เพราะอรรถว่า ครอบงำราคะ ความว่า ชื่อว่า ภูริปญฺญา เพราะ
มรรคปัญญานั้น ๆ ครอบงำ ย่ำยี ราคะอันเป็นโทษกับตน. บทว่า ภูริ มี
อรรถว่า ฉลาด เฉียบแหลม ความฉลาดย่อมครอบงำสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
ความไม่ฉลาดครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอรรถแห่งความครอบงำ
ด้วยภูริปัญญา. บทว่า อภิภวิตา ครอบงำอยู่ คือ ผลปัญญานั้น ๆ ครอบงำ
ย่ำยีราคะนั้น ๆ. ปาฐะว่า อภิภวตา บ้าง. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในบทมีราคะเป็นต้นพึงทราบความ ดังต่อไปนี้. ราคะ มีลักษณะ
กำหนัด. โทสะ มีลักษณะประทุษร้าย. โมหะ มีลักษณะหลง โกธะ
มีลักษณะโกรธ. อุปนาหะ มีลักษณะผูกโกรธไว้. โกธะเกิดก่อน อุปนาหะ
เกิดภายหลัง. มักขะ มีลักษณะลบหลู่คุณผู้อื่น. ปลาสะ มีลักษณะตีเสมอ.
อิสสา มีลักษณะทำสมบัติผู้อื่นให้สิ้นไป. มัจฉริยะ มีลักษณะหลงสมบัติ
ของตน. มายา มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ตนทำ. สาเฐยยะ มีลักษณะ
ประกาศคุณอันไม่มีอยู่ของตน. ถัมภะ มีลักษณะจิตกระด้าง สารัมภะ มี

ลักษณการทำเกินกว่าการทำ. มานะ มีลักษณะถือตัว. อติมานะ มีลักษณะ
ถือตัวยิ่ง. มทะ มีลักษณะมัวเมา. ปมาทะ มีลักษณะปล่อยจิตในกามคุณ 5.
ด้วยบทว่า ราโค อริ ตํ อรึ มทฺทนิปญฺญา เป็นปัญญาย่ำยี
ราคะอันเป็นข้าศึกเป็นต้น ท่านอธิบายไว้อย่างไร กิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่า
ภูอริ เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกในจิตสันดาน. ท่านกล่าว่า ภูริ เพราะลบ
อักษรด้วยบทสนธิ. พึงทราบว่าเมื่อควรจะกล่าวว่า ปัญญาย่ำยี ภูริ นั้นชื่อว่า
ภูริมทฺทนิปญฺญา ท่านกล่าวว่า ภูริปญฺญา เพราะลบ มทฺทนิ ศัพท์เสีย.
อนึ่ง บทว่า ตํ อรึ มทฺทนี ท่านกำหนดบทว่า เตสํ อรีนํ มทฺทนี
การย่ำยีข้าศึกเหล่านั้น. บทว่า ปฐวีสมาย เสมอด้วยแผ่นดิน คือ ชื่อว่า
เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะอรรถว่ากว้างขวางไพบูลนั่นเอง. บทว่า วิตฺถตาย
กว้างขวาง คือแผ่ไปในวิสัยที่ควรรู้ได้ ไม่เป็นไปในเอกเทศ. บทว่า วิปุลาย
ไพบูลคือโอฬาร. แต่มาในมหานิเทศว่า วิปุลาย วิตฺถตาย ไพบูล กว้างขวาง.
บทว่า สมนฺนาคโต คือบุคคลผู้ประกอบแล้ว. อิติศัพท์ ลงในอรรถว่า
เหตุ ความว่า ด้วยเหตุนี้ปัญญาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ภูริปัญญา เพราะ
บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยภูริปัญญา เพราะเหตุนั้น บุคคลย่อมยินดีในอรรถที่
เจริญแล้ว เมื่อควรจะกล่าวว่า ภูริปญฺญสฺส ปญฺญา ภูริปญฺญปญฺญา
ปัญญาของบุคคลผู้ประกอบด้วยภูริปัญญา ชื่อว่า ภูริปัญญปัญญา ท่านกล่าว
ภูริปญฺญา เพราะลบ ปญฺญาศัพท์ เสียศัพท์หนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ภูริปญฺญา เพราะมีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน. บทว่า อปิจ ท่านกล่าวเพื่อให้
เห็นปริยายอย่างอื่น. บทว่า ปญฺญายเมตํ คำว่า ภูริ นี้ เป็นชื่อของ
ปัญญา. บทว่า อธิวจนํ เป็นคำกล่าวยิ่งนัก. บทว่า ภูริ ชื่อว่า ภูริ เพราะ
อรรถว่า ย่อมยินดีในอรรถที่เจริญแล้ว. บทว่า เมธา ปัญญาชื่อว่า เมธา

เพราะอรรถว่า กำจัดทำลายกิเลสทั้งหลาย ดุจสายฟ้าทำลายสิ่งที่ก่อด้วยหิน
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่า ถือเอาทรงไว้เร็วพลัน.
บทว่า ปริณายกา ปัญญาเป็นปริณายก. ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะอรรถว่า
ปัญญาย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด ย่อมนำสัตว์นั้นไปในธรรมอันสัมปยุต ในการ
ปฏิบัติประโยชน์และในปฏิเวธอันมีลักษณะแน่นอน ด้วยบทเหล่านั้นเป็นอัน
ท่านกล่าวถึงคำอันเป็นปริยายแห่งปัญญาแม้อย่างอื่นด้วย.
บทว่า ปญฺญาพาหุลฺลํ ความเป็นผู้มีปัญญามาก ชื่อว่า ปญฺญา-
พหุโล
เพราะมีปัญญามาก ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีปัญญามากนั้น ชื่อว่า
ปัญญาพาหุลละ ปัญญานั่นแหละเป็นไปมาก.
ในบทมีอาทิว่า อิเธกจฺโจ บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้แก่กัลยาณ-
ปุถุชน หรืออริยบุคคล. ชื่อว่า ปญฺญาครุโก เพราะเป็นผู้มีปัญญาหนัก.
ชื่อว่า ปญฺญาจริโต เพราะเป็นผู้มีปัญญาเป็นจริต. ชื่อว่า ปญฺญาสโย
เพราะมีปัญญาเป็นที่อาศัย. ชื่อว่า ปญฺญาธิมุตฺโต เพราะน้อมใจเชื่อด้วย
ปัญญา. ชื่อว่า ปญฺญาธโช เพราะมีปัญญาเป็นธงชัย. ชื่อว่า ปญฺญาเกตุ
เพราะมีปัญญาเป็นยอด. ชื่อว่า ปญฺญาธิปติ เพราะมีปัญญาเป็นใหญ่. ชื่อว่า
ปญฺญาธิปเตยฺโย เพราะมาจากความเป็นผู้มีปัญญาเป็นใหญ่. ชื่อว่า วิจย-
พหุโล
เพราะมีการเลือกเฟ้นสภาวธรรมมาก. ชื่อว่า ปวิจยพหุโล เพราะ
มีการค้นคว้าสภาวธรรมโดยประการต่าง ๆ มาก. การหยั่งลงด้วยปัญญาแล้ว
ปรากฏธรรมนั้น ๆ คือให้แจ่มแจ้ง ชื่อว่า โอกขายนะ ชื่อว่า โอกฺขายน-
พหุโล
เพราะมีการพิจารณามาก. การเพ่งพิจารณาธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา
โดยชอบ ชื่อว่า สมฺเปกฺขา. การดำเนินไป การเป็นไปด้วยการเพ่งพิจารณา
โดยชอบ ชื่อว่า สมฺเปกฺขายนํ. ชื่อว่า สมฺเปกฺขายนธมฺโม เพราะมีการ

เพ่งพิจารณาโดยชอบเป็นธรรม เป็นปกติ. ชื่อว่า วิภูตวิหารี เพราะทำ
ธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง ให้ปรากฏอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิภูตวิหารี เพราะ
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง. ชื่อว่า ตจฺจริโต เพราะมีปัญญาเป็นจริต.
ชื่อว่า ตคฺครุโกเพรามีปัญญาหนัก. ชื่อว่า ตพฺพหุโล เพราะมีปัญญามาก.
โน้มไปในปัญญานั้น ชื่อว่า ตนฺนินโน. น้อมไปในปัญญานั้น ชื่อว่า
ตปฺโปโณ. เงื้อมไปในปัญญานั้น ชื่อว่า ตปฺปพฺภาโร. น้อมจิตไปในปัญญา
นั้น ชื่อว่า ตทธิมุตฺโต. ปัญญานั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่า ตทธิปติ. ผู้มาจาก
ปัญญาเป็นใหญ่นั้น ชื่อว่า ตทธิปเตยฺโย. บทมีอาทิว่า ปญฺญาครุโก มี
ปัญญาหนัก ท่านกล่าวจำเดิมแต่เกิดในชาติก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า
บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม ย่อมรู้การเสพกาม. บทมีอาทิว่า ตจฺจริโต ท่าน
กล่าวถึงในชาตินี้.
สีฆปัญญา (ปัญญาเร็ว) ลหุปัญญา (ปัญญาเบา) หาสปัญญา
(ปัญญาร่าเริง) และชวนปัญญา (ปัญญาแล่น) เป็นปัญญาเจือด้วยโลกิยะและ
โลกุตระ.
ชื่อว่า สีฆปญฺญา ด้วยอรรถว่าเร็ว. ชื่อว่า ลหุปญฺญา ด้วยอรรถ
ว่าเบา. ชื่อว่า หาสปญฺญา ด้วยอรรถว่าร่าเริง. ชื่อว่า ชวนปญฺญา
ด้วยอรรถว่าแล่นไปในสังขารเข้าถึงวิปัสสนาและในวิสังขาร. บทว่า สีฆํ สีฆํ
พลัน ๆ ท่านกล่าว 2 ครั้ง เพื่อสงเคราะห์ศีลเป็นต้นมาก. บทว่า สีลานิ
คือ ปาติโมกขสังวรศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ด้วยสามารถแห่ง
จาริตศีลและวาริตศีล. บทว่า อินฺทฺริยสํวรํ อินทริยสังวร คือ การไม่ทำให้
ราคะปฏิฆะเข้าไปสู่อินทรีย์ 6 มีจักขุนทรีย์เป็นต้นแล้ว ปิดกั้นด้วยหน้าต่างคือ
สติ. บทว่า โภชเน มตฺตญฺญุตํ คือความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค

ด้วยพิจารณาแล้วจึงบริโภค. บทว่า ชาคริยานุโยคํ ประกอบความเพียร
ด้วยความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือชื่อว่า ชาคโร เป็นผู้ตื่น เพราะใน 3 ส่วนของวัน
ย่อมตื่น คือไม่หลับในส่วนปฐมยามและมัชฌิมยามของราตรี บำเพ็ญสมณธรรม
อย่างเดียว. ความเป็นผู้ตื่น กรรมคือความเป็นผู้ตื่น การประกอบเนือง ๆ
ของความเป็นผู้ตื่น ชื่อว่า ชาคริยานุโยค ยังชาคริยานุโยคนั้นให้บริบูรณ์.
บทว่า สีลกฺขนฺธํ คือ ศีลขันธ์อันเป็นของพระเสขะหรือพระอเสขะ. ขันธ์
แม้นอกนี้ก็พึงทราบอย่างนี้. บทว่า ปญฺญาขนฺธํ คือมรรคปัญญาและโลกิย-
ปัญญาของพระเสขะและพระอเสขะ. บทว่า วิมุตฺติขนฺธํ คือ ผลวิมุตติ.
บทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนกฺขนฺธํ คือ ปัจจเวกขณญาณ. บทว่า หาสพหุโล
เป็นผู้มีความร่าเริง เป็นมูลบท. บทว่า เวทพหุโล เป็นผู้มีความพอใจมาก
เป็นบทชี้แจงด้วยการเสวยโสมนัสเวทนาอันสัมปยุตด้วยปีตินั่นแหละ. บทว่า
ตุฏฺฐิพหุโล เป็นผู้มีความยินดีมาก เป็นบทชี้แจงด้วยอาการยินดีแห่งปีติมี
กำลังไม่มากนัก. บทว่า ปามุชฺชพหุโล เป็นผู้มีความปราโมทย์มาก เป็น
บทชี้แจงด้วยความปราโมทย์แห่งปีติมีกำลัง. บทว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ เป็นอาทิ
มีความดังได้กล่าวแล้วในสัมมสนญาณนิเทศ. บทว่า ตุลยิตฺวา คือเทียบเคียง
ด้วยกลาปสัมมสนะ (การพิจารณาเป็นกลุ่มเป็นกอง). บทว่า ตีรยิตฺวา คือ
พินิจด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา. บทว่า วิภาวยิตฺวา พิจารณา คือ ทำให้
ปรากฏด้วยภังคานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า วิภูตํ กตฺวา ทำให้แจ่มแจ้ง คือ
ทำให้ฉลาดด้วยสังขารุเบกขาญาณ.
ติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) เป็นโลกุตระทีเดียว. บทว่า อุปฺปนฺนํ
เกิดขึ้นแล้ว คือ วิตกแม้ละได้แล้วด้วยสมถวิปัสสนา ด้วยวิกขัมภนะและ
ตทังคะ ท่านก็กล่าวว่า เกิดขึ้นยังถอนไม่ได้ เพราะไม่ล่วงเลยธรรมดาที่

เกิดขึ้น เพราะยังถอนไม่ได้ด้วยอริยมรรค. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาวิตกที่เกิดขึ้น
ยังถอนไม่ได้นั้น. บทว่า นาธิวาเสติ ไม่รับรองไว้ คือ ไม่ยกขึ้นสู่สันดาน
แล้วให้อยู่. บทว่า ปชหติ ย่อมละ. คือ ละด้วยตัดขาด. บทว่า วิโนเทติ
ย่อมบรรเทา คือ ย่อมซัดไป. บทว่า พฺยนฺตีกโรติ ย่อมทำให้สิ้นสุด คือ
ทำให้ปราศจากที่สุด. บทว่า อนภาวํ คเมติ ให้ถึงความไม่มีต่อไป ความว่า
ถึงอริยมรรความลำดับวิปัสสนาแล้วให้ถึงความไม่มีด้วยการตัดขาด.
วิตกประกอบด้วยกาม ชื่อว่า กามวิตก วิตกประกอบด้วยความตาย
ของผู้อื่น ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกประกอบด้วยความเบียดเบียนผู้อื่น
ชื่อว่า วิหิงสาวิตก. บทว่า ปาปเก คือ ลามก. บทว่า อกุสเล ธมฺเม
คือธรรมอันไม่เป็นความฉลาด. บทว่า นิพฺเพธิกปญฺญา ปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส คือ มรรคปัญญาอันเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย. บทว่า
อุพฺเพคพหุโล เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง คือ เป็นผู้มากด้วยความหวาดกลัว
ภัยในเพราะญาณ. บทว่า อุตฺตาสพหุโล เป็นผู้มากไปด้วยความหวาดเสียว
คือมากไปด้วยความกลัวอย่างแรง. บทนี้ ขยายความบทก่อนนั่นเอง. บทว่า
อุกฺกณฺฐพหุโล คือเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย เพราะมุ่งเฉพาะวิสังขาร
นอกเหนือไปจากสังขาร. บทว่า อนภิรติพหุโล เป็นผู้มากไปด้วยความไม่
พอใจ ท่านแสดงถึงความไม่มีความยินดียิ่งด้วยความเบื่อหน่าย. แม้บัดนี้
พระสารีบุตรเถระไขความนั้นด้วยคำทั้งสอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พหิมุโข เบือนหน้าออก คือมุ่งหน้าเฉพาะ
นิพพานอันเป็นภายนอกจากสังขาร. บทว่า น รมติ ไม่ยินดี คือ ไม่ยินดียิ่ง.
บทว่า อนิพฺพิทฺธปุพฺพํ ไม่เคยเบื่อหน่าย คือไม่เคยถึงที่สุดในสังสารอัน
ไม่รู้เบื้องต้นและที่สุดแล้วเบื่อหน่าย. บทว่า อปฺปทาลิตปุพฺพํ ไม่เคยทำลาย

เป็นคำกล่าวถึงอรรถของบทนั้น ความว่า ไม่เคยทำลายด้วยการกระทำที่สุด
นั่นเอง. บทว่า โลภกฺขนฺธํ กองโลภะ คือ กองโลภะ หรือมีส่วนแห่งโลภะ.
บทว่า อิมาหิ โสฬสหิ ปญฺญาหิ สมนฺนาคโต บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยปัญญา 16 ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวถึงพระอรหันต์โดยกำหนดอย่าง
อุกฤษฏ์ แม้พระโสดาบันพระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ย่อมได้เหมือนกัน
เพราะท่านกล่าวไว้ในตอนก่อนว่า เอโก เสขปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต ผู้หนึ่งเป็น
พระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา.

อรรถกถาปุคคลวิเสสนิเทศ


พระสารีบุตรเถระแสดงถึงลำดับของบุคคลวิเศษผู้บรรลุปฏิสัมภิทาด้วย
บทมีอาทิว่า เทฺว ปุคฺคลา บุคคล 2 ประเภท. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพโย-
โค
ผู้มีความเพียรก่อน คือประกอบด้วยบุญอันเป็นเหตุบรรลุปฏิสัมภิทาในอดีต
ชาติ. บทว่า เตน คือเหตุที่มีความเพียรมาก่อนนั้น. แม้ในบทที่เหลือ
ก็อย่างนั้น. บทว่า อติเรโก โหติ เป็นผู้ประเสริฐ คือมากเกินหรือเพราะ
มีความเพียรมากเกินท่านจึงกล่าวว่า อติเรโก. บทว่า อธิโก โหติ เป็นผู้ยิ่ง
คือเป็นผู้เลิศ. บทว่า วิเสโส โหติ เป็นผู้วิเศษ คือวิเศษที่สุด หรือ
เพราะมีความเพียรวิเศษท่านจึงกล่าวว่า วิเสโส. บทว่า ญาณํ ปภิชฺชติ
ญาณแตกฉาน คือถึงความแตกฉานปฏิสัมภิทาญาณ. บทว่า พหุสฺสุโต เป็น
พหูสูต คือ เป็นพหูสูตด้วยอำนาจแห่งพุทธพจน์. บทว่า เทสนาพหุโล
เป็นผู้มากด้วยเทศนา คือ ด้วยอำนาจแห่งธรรมเทศนา. บทว่า ครูปนิสฺสิโต